บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ประกาศความพร้อมในการนำหุ้น “THAI” กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรั พย์แห่งประเทศไทยอีกครั้งในวั นที่ 4 สิงหาคม 2568 หลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่ งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของบริษั ทฯ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา จากการประสบความสำเร็ จในการดำเนินการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งได้พลิกโฉมองค์กรสู่การเป็ นบริษัทเอกชนที่พร้อมสร้ างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้ น และนักลงทุน ด้วยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ งและกลยุทธ์ในการสร้างการเติ บโตในอนาคตที่ชัดเจน พร้อมที่จะทะยานสู่บทบาทหนี่ งในผู้นำในอุตสาหกรรมการบินระดั บภูมิภาค ตลอดจนการเป็นหนึ่งในบริษั ทจดทะเบียนชั้นนำที่มีคุ ณภาพของตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกครั้ง
นายลวรณ แสงสนิท ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ ในนามของคณะกรรมการบริษัทชุ ดใหม่มีความมุ่งมั่นเพื่ อนำการบินไทยก้าวสู่ยุคใหม่แห่ งการเป็นสายการบินที่เปี่ยมด้ วยประสิทธิภาพ และถึงพร้อมด้วยธรรมาภิ บาลในการบริหารงานแบบองค์ กรเอกชน คณะกรรมการชุดนี้มีความพร้อมทั้ งในด้านองค์ความรู้ และวิสัยทัศน์ที่จะร่วมผลักดั นองค์กรให้เดินหน้าต่อไปอย่างมั่ นใจ โดยได้รวมผู้เชี่ยวชาญทั้ งจากภาครัฐและเอกชน โดยคณะกรรมการชุดใหม่ประกอบด้ วยกรรมการ 11 ท่าน ซึ่งจำนวน 3 ท่าน เป็นกรรมการของบริษัทตั้งแต่ ในช่วงก่อนเข้ากระบวนการฟื้นฟู กิจการ และกรรมการสองในสามท่านดังกล่ าวยังเป็นอดีตผู้บริหารแผนฟื้ นฟูกิจการ ตลอดจนประกอบด้วยกรรมการเข้ าใหม่ 8 ท่านที่ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ ถือหุ้นผ่านการพิจารณาตาม Board Skills Matrix เพื่อให้ครอบคลุมความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ อาทิ ธุรกิจการบิน การเงิน กฎหมาย กลยุทธ์ การตลาด และเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วยคณะกรรมการชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรรมการตรวจสอบและคณะกรรมกา รสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เพื่อดูแลทุกมิติ โดยเชื่อว่าคณะกรรมการและฝ่ ายบริหารพร้อมร่วมทำงานสนับสนุ นซึ่งกันและกัน โดยยังคงมีทีมผู้บริหารจากในช่ วงกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งช่วยให้สามารถสานต่ อการดำเนินงานของการบินไทยได้ อย่างมั่นคง สถานะของบริษัทในวันนี้ถือได้ว่ าอยู่ในจุดที่ดีที่สุดในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นสถานะทางการเงิน ประสิทธิภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน บริษัทฯ มีความชัดเจนอย่างยิ่งในเรื่ องของทิศทางการเจริญเติบโต และยุทธศาสตร์ที่จะใช้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์กรที่ วันนี้ ไม่เพียงแต่ขนาดและความซับซ้ อนที่เหมาะสมต่อขนาดธุรกิจ ค่าใช้จ่ายบุคลากรที่อยู่ในระดั บที่มีประสิทธิภาพไม่ยิ่งหย่ อนไปกว่าสายการบินชั้นนำในระดั บเดียวกัน แต่ยังมีความยืดหยุ่น และสามารถเปลี่ยนแปลงตอบสนองต่ อสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งให้ความสำคัญในการส่ งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์ และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรั พย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับมิติด้านสิ่งแวดล้อม การบินไทยในฐานะผู้ ประกอบการสายการบินมุ่งมั่นที่ จะลดผลกระทบในการทำธุรกิจที่มี ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนมุ่งสู่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็ นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065) ทั้งนี้ มีเป้าหมายในการนำพาองค์กรเพื่ อต่อยอดความสำเร็จจากการฟื้นฟู กิจการที่ผ่านมาให้ก้าวไปสู่ รากฐานที่มั่นคงสำหรับการเติ บโตอย่างยั่งยืน ด้วยการเป็นองค์กรที่โปร่งใส มีหลักการธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่ นให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่ วนได้เสียทุกภาคส่วนในระยะยาว”
ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการและอดีตประธานคณะผู้บริ หารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า “การบินไทยได้ดำเนินการตามแผนฟื้ นฟูกิจการและบรรลุครบถ้วนทุกเงื่ อนไขอันเป็นผลสำเร็จของแผนฟื้ นฟูฯ ภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี นับตั้งแต่ศาลล้มละลายกลางเห็ นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการในปี 2564 โดยผลประกอบการที่เติบโตอย่ างโดดเด่นต่อเนื่อง สะท้อนถึงความสำเร็ จของกระบวนการฟื้นฟูกิจการอย่ างชัดเจน โดยในปี 2567 การบินไทยสามารถสร้ างกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนต้นทุนทางการเงินไม่ รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดี ยว) สูงถึง 41,515 ล้านบาท และยังคงรักษาโมเมนตัมการเติ บโตอย่างต่อเนื่องซึ่งเห็นได้ จากในไตรมาส 1 ปี 2568 การบินไทยมี กำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนต้นทุนทางการเงินไม่ รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดี ยว) 13,661 ล้านบาท หรือคิดเป็น EBIT margin สูงที่สุดในกลุ่มสายการบินที่ ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full-Service) ในเอเชียแปซิฟิกและยุโรปที่ 26.5% (แหล่งที่มาจาก Airline Weekly) ซึ่งแสดงให้เห็นถึ งประสิทธิภาพในการบริหารจั ดการที่ยอดเยี่ยม และที่สำคัญคือ เรามีคณะกรรมการชุดใหม่ที่ได้รั บการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถื อหุ้น ซึ่งล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มี ประสบการณ์หลากหลาย ซึ่งจะขับเคลื่อนองค์กร เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน โปร่งใส และแข่งขันได้ในระดับโลก นี่คือการบินไทยในโครงสร้างใหม่ ที่แข็งแกร่ง พร้อมทะยานสู่ความสำเร็ จในระยะยาว”
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงภาพรวมกลยุทธ์การเติ บโตของการบินไทยว่า “อัตราการเติบโตที่เราเห็นในปั จจุบันไม่ใช่เป็นเพียงการฟื้นตั วหลังสถานการณ์โควิด-19 แต่เป็นแรงขับเคลื่อนที่ มาจากโครงสร้างหลากหลายด้ านและการวางกลยุทธ์ระยะยาวอย่ างชัดเจน อาทิ (1) การปรับโครงสร้ างและขนาดองค์กรให้มีความคล่ องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการเพิ่มความโปร่งใสในทุ กกระบวนการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบได้ (2) การปรับโครงสร้างฝูงบิ นและจำนวนเครื่องบินให้มีประสิ ทธิภาพโดยตั้งเป้าหมายว่าจะมี เครื่องบินจำนวน 150 ลำในปี 2576 ซึ่งลดจำนวนแบบเครื่องบินจาก 8 แบบก่อนเข้าแผนฟื้นฟูกิจการเหลื อเพียง 4 แบบ และลดจำนวนเครื่องยนต์จาก 9 แบบเหลือ 5 แบบส่งผลให้สามารถควบคุมต้นทุ นในการดำเนินงานและซ่อมบำรุงได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายเพิ่มส่ วนแบ่งทางการตลาดจากปัจจุบันที่ 26% เป็น 35% ภายในปี 2572 เหมือนที่เคยทำได้ในอดีตที่ผ่ านมา (3) การขยายเส้นทางและความถี่ ในการบินเพื่อมุ่งสู่การเป็น regional network airline เชื่อมต่อระดับภูมิ ภาคและระหว่างทวีป (4) การปรับปรุงบริการห้ องโดยสารและช่องทางการขายเพื่ อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า (5) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในทุ กกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพซึ่งรวมถึงอย่างเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันเพื่อให้ใช้ งานสะดวกมากยิ่งขึ้น และสร้างโอกาสในการเพิ่มสัดส่ วนรายได้จากช่องทางการขายตรง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้คือปัจจัยสนับสนุ นสำคัญที่ทำให้การบินไทยพร้ อมสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยื นและเพิ่มความสามารถในการแข่งขั นเพื่อให้การบินไทยก้าวสู่ การเป็นหนึ่งในผู้นำในอุ ตสาหกรรมการบินระดับภูมิภาคอย่ างแข็งแกร่งในอนาคต”
นางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงิ นและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความแข็งแกร่ งของฐานะทางการเงินในปัจจุบันว่ า “สถานะทางการเงินของการบิ นไทยในวันนี้มีความแข็งแกร่ งและมั่นคงกว่าเดิมมาก ซึ่งสะท้ อนจากความสามารถในการทำกำไรจากก ารดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุ ดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้ งเดียว) 187,989 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงมีกำไรจากการดำเนินงานก่ อนต้นทุนทางการเงิน (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้ งเดียว) 41,515 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไร (EBIT Margin) 22.1% และในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 มีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้ งเดียว) ทั้งสิ้น 51,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อน 12.3% กำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนต้นทุนทางการเงินไม่ รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดี ยว) 13,661 ล้านบาท อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เท่ากับ 83.3% และ อัตราผลตอบแทนต่อผู้โดยสาร ( Passenger Yield) เท่ากับ 2.91 ใกล้เคียงกับปีก่อน และความสำเร็จจากการแปลงหนี้ และดอกเบี้ยตั้งพักของเจ้าหนี้ เป็นทุนกว่า 53,453 ล้านบาท และเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้ แก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนการฟื้นฟู กิจการและพนักงานของบริษัทฯกว่า 22,987 ล้านบาท ในปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นของบริ ษัทฯ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 กลับเป็นบวกที่ 55,439 ล้านบาท จากเดิมที่ติดลบเป็นจำนวน 43,142 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2563 และสามารถลดอัตราส่วนหนี้สินที่ มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถื อหุ้น (IBD/E Ratio) เหลือเพียง 2.2 เท่า จาก 12.5 เท่า ในปี 2562 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึ งสถานะทางการเงินที่มั่นคง โดยไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้ด้ วยการลดยอดหนี้ลง (Hair Cut) ในส่วนหนี้เงินต้นของเจ้าหนี้ ทางการเงินและเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ของการบินไทย โดยมีกำหนดคืนหนี้ชัดเจนแล้ วตามแผนฟื้นฟูกิจการจนถึงปี 2579 ความสำเร็จนี้เป็ นผลจากการทำงานอย่างหนัก วินัยทางการเงินที่เข้มงวด ตลอดจนความร่วมมือจากเจ้าหนี้ พนักงานการบินไทยทุกคนและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน”
