นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่ านมา ได้มีโอกาสนำคณะผู้บริหารระดั บสูงของสำนักงานคณะกรรมการกำกั บและส่งเสริมการประกอบธุรกิ จประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เข้าร่วมการประชุมประจำปี นายทะเบียนประกันภั ยของประเทศสหรัฐอเมริกา (2024 NAIC International Insurance Forum) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้มีวั ตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้หน่ วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภั ยและบริษัทประกันภัยระดั บนานาชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการขับเคลื่ อนภาคอุตสาหกรรมประกันภัย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดู แลภาคการเงินและธุรกิจประกันภั ยจาก 56 มลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ าร่วม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานวิ ชาการด้านการประกันภัยที่ได้รั บการยอมรับในระดับสากล อาทิ สมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกั นภัยนานาชาติ (The International Association of Insurance Supervisors: IAIS) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) European Insurance and Occupational Pensions Authority (EIOPA) ผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลธุ รกิจประกันภัยจากประเทศไอร์ แลนด์ ประเทศอังกฤษ ประเทศเบลเยียม ประเทศโมร็อกโก ประเทศอาร์เจนตินา และประเทศไทย ตลอดจนผู้แทนจากสมาคมและหน่ วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้ งในประเทศสหรัฐอเมริกาและจากภู มิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่สำนั กงาน คปภ. จะได้รับทราบข้อมูล รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ ยวกับธุรกิจประกันภัยของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้ านผลกระทบของความเปลี่ ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเชิ งมหภาคที่อาจส่งผลกระทบต่ อการดำเนินธุรกิจประกันภั ยในอนาคต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับบริ บทของประเทศไทยอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ อการพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิ จประกันภัยของประเทศไทย
ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้รับเกียรติจาก National Association of Insurance Commissioners (NAIC) ให้ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษภายใต้ หัวข้อ “การระบุช่องว่างความคุ้มครองด้ านการประกันภัยในประเทศไทย” โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ ยนแปลงของโลกแห่งความไม่แน่นอน หรือที่เรียกกันว่า V-U-C-A World ซึ่งส่งผลกระทบทั้ งทางตรงและทางอ้อมต่อภูมิทัศน์ ของภาคธุรกิจประกันภัยไทย โดยได้ยกตัวอย่างความท้าทายที่ เกิดขึ้นใหม่ทั้งการเปลี่ ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคอุบัติใหม่ การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริ โภคที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ และความท้าทายที่ยังคงมีอยู่อย่ างต่อเนื่อง โดยฉายภาพความท้าทายที่สำนักงาน คปภ. เห็นว่าเป็นปัจจัยหลักในการส่ งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจประกั นภัยมีความสำคัญต่อการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วย ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจด้ านการประกันภัย ประชาชนไม่มีการวางแผนทางการเงิ น และข้อจำกัดด้านรายได้ส่งผลต่ อการเข้าถึงประกันภัย ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลโดยตรงต่ อการเข้าถึงการประกันภั ยของประชาชนทำให้เกิดเป็นช่องว่ างความคุ้มครองด้านประกันภัย (Protection Gap) ในประเทศไทย
ซึ่งสำนักงาน คปภ. ตระหนักถึงความสำคัญในการพั ฒนาและส่งเสริมให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงการประกั นภัย เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิ จและสังคมของประเทศให้มีความมั่ นคง ทนทาน พร้อมรับมือกับความเสี่ ยงและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึ งประกันภัยของประชาชนผ่ านมาตรการที่สำคัญ อาทิ การประกันภัยพืชผล การประกันภัยรายย่อย (Microinsurance) และการประกันภัยสุขภาพผู้สู งอายุ ซึ่งล้วนแล้วแต่มุ่งเน้นพัฒนาคุ ณภาพชีวิตและความมั่นคงให้แก่ ประชากรในกลุ่มที่มี ความเปราะบาง
เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันภัยโลกกำลั งเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้ งสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ ยงรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศอย่างรุนแรง สภาวะโลกร้อน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ ยนแปลงไป ระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่ ผันผวน รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แบบก้าวกระโดด ซึ่งสำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิ จประกันภัยต้องมีการบู รณาการความร่วมมือกับหน่ วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภั ยในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปรับตั วและนำเอากลยุทธ์ที่ทันต่อเหตุ การณ์มาใช้ในการกำกับ ดูแล และส่งเสริมการประกอบธุรกิ จประกันภัยให้มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน ซึ่งการประชุมนายทะเบียนประกั นภัยของประเทศสหรัฐอเมริกาในครั้ งนี้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ งต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่ างสำนักงาน คปภ. และหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิ จประกันภัยของแต่ละมลรั ฐในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนอกจากการประชุมดังกล่าวแล้ว ตนยังได้มีโอกาสประชุมหารือเป็ นการส่วนตัว (Bilateral Meeting) ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิ จประกันภัยของรัฐนิวยอร์ก (New York Insurance Department) และสำนักงานของ NAIC ประจำรัฐนิวยอร์ก (Capital Markets & Investment Analysis Office) เพื่อจะได้นำเอาองค์ความรู้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สู งสุดต่อภาคธุรกิจประกันภั ยของประเทศไทยต่อไป
