นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิด “โครงการสัมมนาผู้ไกล่เกลี่ ยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้ องเพื่อพัฒนาทักษะและถอดบทเรี ยนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้ านการประกันภัย” ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรม Riverton Amphawa จังหวัดสมุทรสงครามโดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ผู้ไกล่เกลี่ ยและพนักงานของสำนักงาน คปภ. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกั บกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้ านประกันภัย ใช้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ปัญหาอุปสรรค แนวทางการพิจารณาและเทคนิ คการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่าง ๆ เพื่อนำไปแก้ไข ปรับปรุง การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิ พาทด้านการประกันภัยให้มีประสิ ทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 121 คน ประกอบด้วยผู้ไกล่เกลี่ยจำนวน 78 คน ผู้บริหารและพนักงานของสำนักงาน คปภ. จำนวน 43 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายบุญรอด ตันประเสริฐ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้ าคณะในศาลฎีกา บรรยายในหัวข้อ “เทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิ พาทและการเพิ่มประสิทธิ ภาพการไกล่เกลี่ยโดยผู้ชำนาญการ สำนักงาน คปภ.” และนายโชติช่วง ทัพวงศ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลอุทธรณ์ ภาค 7 และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจั ดการความขัดแย้งและไกล่เกลี่ยข้ อพิพาท ให้เกียรติเป็นวิทยากรถอดบทเรี ยนการไกล่เกลี่ยข้อพิ พาทและแลกเปลี่ยนความรู้ ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็ นปัญหาข้อพิพาทด้านการประกันภัย รวมถึงการเพิ่มเติมองค์ความรู้ ในหัวข้อ “สัญญาประกันภัยสุ ขภาพมาตรฐานใหม่” โดย นางปรียานุช จีระศิลป์ หัวหน้ากลุ่ม กลุ่มนโยบายการกำกับผลิตภัณฑ์ ประกันภัย และหัวข้อ “กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้ าและกรณีศึกษา” โดยนายคณานุสรณ์ เที่ยงตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และนายพงศกร ภาณุสานต์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มกำกับผลิตภัณฑ์ประกันวิ นาศภัยสำหรับบุคคล

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า นับแต่สำนักงาน คปภ. เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้ านการประกันภัย เป็นเวลา 8 ปี มีเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยผู้ ชำนาญการทั้งสิ้น 1,691 เรื่อง โดยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็ จจำนวน 1,320 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 78.06 ดังนั้น หากมีการถอดบทเรียนเพื่อรั บทราบประเด็นปัญหาและอุ ปสรรคในการไกล่เกลี่ยข้อพิ พาทในทุก ๆ ปี รวมทั้งหาแนวทางในการปรับปรุ งแก้ไขก็เชื่อว่าจะทำให้การไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทสัมฤทธิผลและมี สถิติเรื่องร้องเรียนที่ สามารถยุติประเด็นข้อพิพาทได้ มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการเพื่ ออำนวยความสะดวกและสนับสนุ นการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ไกล่ เกลี่ยและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เพื่อยกระดั บการให้บริการประชาชน โดยจัดทำแอปพลิเคชันติ ดตามกระบวนการคุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ของประชาชนด้านการประกั นภัย คือ แอปพลิเคชัน “OIC Protect” เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ของประชาชนด้านการประกันภัยในทุ กมิติครอบคลุมครบทุกกระบวนการ และเป็นช่องทางในการเข้าถึ งระบบจัดการเรื่องร้องเรียน การไกล่เกลี่ยออนไลน์ การติดตามเรื่องร้องเรียน การนัดหมาย และการแจ้งผลการดำเนินการ พร้อมทั้งการบริการแจ้งข้อมูลข่ าวสาร โดยประชาชน ผู้ไกล่เกลี่ย และอนุญาโตตุลาการ สามารถเข้าใช้งานผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน (Smart Phone) ทั้งระบบ IOS และ Android เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการของสำนักงาน คปภ. อย่างสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ตั้ งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา
อีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่ อสนับสนุนงานด้านคุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ด้านการประกันภัย ผ่านระบบ PPMS (Policyholder Protection Management System) ระยะที่ 2 ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อสนั บสนุนงานด้านคุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ด้านการประกันภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบั ติงานในกระบวนการคุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กั บประชาชน ตั้งแต่กระบวนการให้คำปรึกษาด้ านการประกันภัย กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนด้ านการประกันภัยโดยพนักงานเจ้ าหน้าที่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้ านการประกันภัยโดยผู้ชำนาญการ และกระบวนการระงับข้อพิพาทด้ วยวิธีอนุญาโตตุลาการ นอกจากนี้ได้มีการเพิ่มประสิทธิ ภาพในกระบวนงานด้านคุ้มครองสิ ทธิประโยชน์ ให้เป็นช่องทางหรือตั วกลางในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่ างบริษัทประกันภัย และสำนักงาน คปภ. โดยให้มีช่องทางรับ – ส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้ องเรียนจากระบบสารสนเทศ ทำให้ประชาชนได้รับการบริการด้ านการประกันภัยอย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ประหยัด เป็นธรรม และอำนวยความสะดวกให้กับอุ ตสาหกรรมประกันภัยในภาพรวม โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในช่ วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2568
“เวทีการสัมมนาผู้ไกล่เกลี่ ยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้ องกับกระบวนการระงับข้อพิพาทด้ านประกันภัยในครั้งนี้ มีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ ยนเทคนิค วิธีการ องค์ความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภั ยจากการถอดบทเรียน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุ งและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้ อพิพาทโดยผู้ชำนาญการ อันจะเป็นการยกระดั บกระบวนการระงับข้อพิพาทด้ านประกันภัยให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
