จากกรณีที่ประเทศไทยตอนบนได้เกิ ดพายุฤดูร้อน เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวั นออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุ มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมี อากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้ อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยสร้างความเสียหายให้กับอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้รั บความเสียหายในหลายพื้นที่นั้น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่ างใกล้ชิด และมีความห่วงใยต่อความปลอดภั ยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้ องประชาชน รวมถึงเกษตรกรที่ปลูกพื ชผลทางการเกษตร จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรให้ ความสำคัญในการทำประกันภัยเพื่ อใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้ มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้ นจากภัยธรรมชาติ
ทั้งนี้ การทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกั บอาคารนั้นมีทั้งภาคสมั ครใจและภาคบังคับตามกฎหมาย โดยในส่วนของอาคารอยู่ภายใต้ กฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งบังคับให้เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการ สำหรับอาคารชนิดหรือประเภทตามที่ กำหนดในกฎกระทรวงฯ ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรั บผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุ คคลภายนอกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและจำนวนเงินเอาประกั นที่รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดในกฎกระ ทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบ คุมอาคาร
สำหรับอาคารของเอกชนที่จะต้ องปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าว ประกอบไปด้วย อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สถานบริการตามกฎหมายว่าด้ วยสถานบริการ รวมถึงป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้ นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สู งจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลั งคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่ วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้ นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป จะต้องจัดให้มีการประกันภั ยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมี บทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงขอฝากให้เจ้าของอาคารหรือผู้ ประกอบการตระหนักถึงความสำคั ญของการทำประกันภัยในทรัพย์สิ นดังกล่าวด้วย เพราะหากไม่ทำประกันภัยภาคบังคั บ นอกจากจะได้รับความเสียหายเมื่ อเกิดอัคคีภัยแล้ว ยังอาจได้รับโทษถึงจำคุกและปรั บในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่ ให้ความคุ้มครองหรือความเกี่ ยวเนื่องกับไฟไหม้ เช่น ประกันอัคคีภัย จะให้ความคุ้มครองตัวอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน สต๊อกสินค้า เครื่องจักร และเครื่องตกแต่งที่ติดตั้งไว้ กับตัวอาคาร โดยให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ ทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่ อการอยู่อาศัย
ส่วนการประกันอัคคีภัยสำหรับที่ อยู่อาศัย จะให้ความคุ้มครอง สิ่งปลูกสร้างหรือตัวอาคารใช้ เป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมฐานราก) ทรัพย์สินภายในบ้าน สิ่งที่ติดกับตัวอาคาร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ภายในบ้าน โดยให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำที่เกิดจากการรั่วซึ มภายในอาคาร (ไม่รวมน้ำท่วม) รวมถึงภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ และภัยแผ่นดินไหว ในขณะที่ประกันภัยความเสี่ยงภั ยทรัพย์สิน (IAR) จะให้ความคุ้มครองกว้างกว่าอั คคีภัย เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ การโจรกรรมและอุบัติเหตุ จากสาเหตุที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้ อยกเว้น เป็นต้น
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพื ชผลทางการเกษตร สามารถจัดทำประกันภัย ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน ลำไย เป็นต้น เพื่อนำระบบประกันภัยเข้ามาบริ หารความเสี่ยงภัยที่เกิดจากภั ยธรรมชาติได้อีกด้วยทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเรื่องประกันภั ยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ มได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือเว็บไซต์ www.oic.or.th
