บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ICT ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านวิ ชาการ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมในอุ ตสาหกรรมการบินอย่างเป็นระบบ ตอบรับนโยบายยุทธศาสตร์ชาติที่ มุ่งสู่การเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินระดั บภูมิภาค” ความร่วมมือในครั้งนี้ครอบคลุ มทั้งด้านการพัฒนาหลักสู ตรและองค์ความรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ ตรงจากภาคธุรกิจเข้าสู่ห้องเรี ยน การฝึกอบรมและฝึกงานภาคสนาม การร่วมวิจัยและสร้างนวัตกรรม ตลอดจนการผลิตบัณฑิตและบุ คลากรที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวข้องกั บระบบเทคโนโลยีดิจิทัล สนามบินอัจฉริยะ และระบบความปลอดภัยด้านการบิน
นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) (SKY) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมการบินกำลั งกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังโควิ ด-19 และในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยมีศักยภาพโดดเด่นมาก ทั้งในด้านสนามบิน สถานที่ตั้ง และระบบขนส่ง แต่สิ่งที่เรายังขาดอยู่คือบุ คลากรที่มีทักษะขั้นสูง สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิ ดขึ้นในอุตสาหกรรมการบิน เช่น AI, Cybersecurity, Smart Airport System และระบบ Automation การร่วมมือกับมหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์ในครั้งนี้จึงเป็ นการลงทุนกับคน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุ ดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เราหวังว่าโมเดลนี้จะเป็นต้ นแบบของการเชื่อมโยงระหว่ างภาคธุรกิจกับสถาบันการศึ กษาอย่างยั่งยืน SKY ICT ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยี สนามบิน พร้อมเปิดโอกาสให้กับนักศึ กษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่ วมเรียนรู้ ทดลองงานวิจัย และฝึกประสบการณ์จริง เพราะสนามบินในยุคปัจจุบั นและอนาคตจะปฏิบัติการด้วยระบบ Data-driven และ Automation เพื่อให้ประสบการณ์การเดิ นทางของผู้โดยสารเป็นไปอย่ างสะดวกสบาย ไร้รอยต่อ เราจึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่ เข้าใจทั้งภาคเทคนิคและความต้ องการของผู้โดยสาร ความร่วมมือครั้งนี้คือการสร้ างแพลตฟอร์มให้ “คนรุ่นใหม่” ได้ก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้ขั บเคลื่อนวงการเทคโนโลยีด้ านการบินของไทยในอนาคต
ความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งหวั งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะยาว สร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์อุ ตสาหกรรมการบิน และเสริมขี ดความสามารถของประเทศให้เทียบชั้ นศูนย์กลางการบินระดับโลก โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพั ฒนาหลักสูตร การฝึกงาน การวิจัย และโครงการนำร่องในประเด็นสำคัญ เช่น การวางระบบ Biometric ในสนามบิน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ อคาดการณ์ความหนาแน่นผู้โดยสาร การพัฒนา Digital Twin เพื่อบริหารจัดการสนามบิน รวมถึงการเสริมสร้างความปลอดภั ยด้านไซเบอร์ ซึ่งขณะนี้โครงการนำร่องดังกล่ าวได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรู ปธรรมแล้ว อาทิ โครงการ SKY-KU Aviation Lab and Learning Center ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานสำคั ญภายใต้ MOU ฉบับนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้ นเดือนธันวาคม 2568 ซึ่งห้องปฏิบัติการแห่งนี้จะถู กออกแบบให้เป็นห้ องจำลองสถานการณ์จริงของผู้ โดยสารในสนามบิน ครบถ้วนด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทั นสมัย อาทิ ระบบ Check-In and Boarding system (CUPPS: Common Use Passenger Processing System) ระบบ Self Check-In Kiosk (CUSS: Common Use Self-Service) ระบบ Self Bag Drop ระบบ Self Boarding Gate รวมไปถึงมีชุดวิดีโอสาธิตระบบ AODB (Airport Operational Database) วิดีโอสาธิตระบบ BRS (Baggage Reconciliation System) และมีพื้นที่จำลองขั้ นตอนผู้โดยสาร (Passenger Journey Simulation Zone) โดย SKY-KU Aviation Lab and Learning Center แห่งนี้จะเป็นพื้นที่การเรียนรู้ เชิงปฏิบัติการที่ทันสมัยสำหรั บนักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิ ตศึกษา พร้อมเปิดโอกาสให้เกิ ดการทดลองใช้งานจริง การเรียนรู้จากเทคโนโลยีชั้นนำ และการวิจัยเพื่อพัฒนานวั ตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรมการบิน
ศาสตราจารย์วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่ า นักศึกษาของเราจะได้มีโอกาสสั มผัสกับสถานการณ์จริง ฝึกงานกับบริษัทชั้นนำ และทำโครงการร่วมกับผู้เชี่ ยวชาญด้านการบิน ซึ่งจะช่วยให้บัณฑิตที่ จบออกไปมีความพร้อม สามารถปฏิบัติงานได้ทันที และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ โดยเนื้อหาหลักของความร่วมมื อครอบคลุม 3 ด้านสำคัญ ได้แก่
1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร: ครอบคลุมตั้งแต่ระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ไปจนถึงบัณฑิตศึกษา เพื่อผลิตแรงงานฝีมือและบุ คลากรเฉพาะทางเข้าสู่อุตสาหกรรม
2. การใช้ทรัพยากรและองค์ความรู้ร่ วมกัน: เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ ยนความรู้ ข้อมูล วิจัย อุปกรณ์ และสถานที่ รวมถึงพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน
3. การวิจัยและนวัตกรรม: สนับสนุนการทำวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการบ่มเพาะนวัตกรรม เพื่อสร้างศักยภาพการผลิ ตและการแข่งขันของประเทศ
อาจารย์ ดร.นวทัศน์ ก้องสมุทร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบิ นและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่ าวเสริมถึงความสำคัญของความร่ วมมือในครั้งนี้ว่า การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ ยวชาญในเทคโนโลยีด้านการบินเป็ นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในยุคปั จจุบันที่อุตสาหกรรมกำลังอยู่ ในช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว เราเห็นได้ชัดจากแนวโน้มระดั บโลกที่สนามบินและสายการบินต่าง ๆ ได้นำระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีดิจิทัล และ AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนิ นงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Self Check-in, E-Gate, ระบบบริหารจัดการข้อมูลเที่ยวบิ น หรือแม้แต่การใช้ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการของผู้ โดยสาร ดังนั้น การเตรียมคนให้มีทั กษะทางเทคโนโลยี พร้อมทั้งเข้าใจการประยุกต์ใช้ ในบริบทของอุตสาหกรรมจริง จะเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับขี ดความสามารถการแข่งขั นของประเทศไทยในเวทีการบินระดั บภูมิภาคและโลก ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมการบิ นและอวกาศก็พร้อมจะร่วมมืออย่ างเต็มที่กับ SKY ICT ในการบ่มเพาะนักศึกษาที่ ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต
