Whoscall และ Viu ผนึกความร่วมมือข้ามแพลตฟอร์ม ออกแคมเปญต้านหลอกลวงออนไลน์

บริษัท โกโกลุก (Gogolook) บริษัทชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการเทคโนโลยี เพื่อความเชื่อมั่น(TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ร่วมกับ Viu ผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (OTT) ชัั้นนำระดับภูมิภาค ผนึกความร่วมมือระดับภูมิภาคกระตุกต่อมเตือนภัย ร่วมปกป้องประชาชนในอาเซียนจากภัยออนไลน์มิจฉาชีพ

ความร่วมมือนี้สอดคล้องกับรายงานวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย the Global Anti-Scam Alliance (GASA) ร่วมกับ Whoscall และScamAdviser ที่ระบุว่ากว่า 40% ของประชากรในอาเซียนต้องรับมือกับมิจฉาชีพ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยื่งในประเทศไทย มาเลเชีย และฟิลิปปินส์ ที่ปริมาณและรูปแบบการหลอกลวง ของมิจฉาชีพยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง จากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ Whoscall ได้จัดทำหนังสั้นในรูปแบบของมินิซีรีส์ที่สามารถ รับชมได้บนแพลตฟอร์มของ Viuและnาง Youtube ของ Whoscall Global พร้อมมอบสิทธิพิเศษข้ามแพลตฟอร์มแจกฟรีบริการ Whoscall พรีเมียม และ Viuพรีเมียม ให้แก่ผู้ใช้งานในประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

รูปแบบกลลวงมิจฉาชีพและความถี่ของการหลอกลวงคงอยู่อย่างแพร่หลายทั่วเอเชีย

รายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2567 (Asia Scams in Thailand 2024) ที่จัดทำโดยGASA สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การหลอกลวงทั่วภูมิภาคยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย สำคัญ โดยข้อมูลที่น่าสนใจจากประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์มีดังนี้

กว่า 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วภูมิภาคเผยว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพทุกเดือน และเกือบ 30% สูญเสียเงินภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการติดต่อ
89% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยต้องรับมือกับมิจฉาชีพสูงสุดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตามด้วย มาเลเซีย 74% และฟิลิปปินส์ 67%
ผู้เสียหายใน 3 ประเทศตกเป็นเหยื่อจากการถูกหลอกซ้ำซ้อนอย่างน้อย 2 ครั้ง
การให้โอนเงินผ่านธนาคารเป็นช่องทางการหลอกลวงที่ถูกใช้มากที่สุด โดยกว่า 86% ของผู้เสียหาย ในไทยและ 50 % ในมาเลเซียถูกหลอกให้โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่กว่า 70% ถูกหลอกให้ โอนเงินผ่านกระเป๋าตังค์ออนไลน์หรือ อี-วอลเล็ต
การหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นรูปแบบที่พบอย่างแพร่หลายในไทยและมาเลเซีย ในขณะที่การส่ง ข้อความบนมือถือถูกพบมากที่สุดในฟิลิปปินส์
สาเหตุในการถูกหลอกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดย22% ของผู้เสียหายในไทยหลงเชื่อ  ในข้อเสนอที่น่าสนใจ28% ของผู้เสียหายในฟิลิปปินส์ตัดสินใจเร็วเกินไป และ21% ของผู้เสียหาย ในมาเลเซียเลือกที่จะยอมรับความเสี่ยง
เทคโนโลยี AI ถูกนำเข้ามาใช้ในการเชียนข้อความและส่งSMS เยอะขึ้นทั่วภูมิภาค โดยผู้ตอบแบบสอบ ถามถึง 72% ในฟิลิปปินส์ เคยตกเป็นเป้าหมายของเทคนิคกลลวงที่ใช้AI ตามด้วย 51% ในไทยและ 50 % ในมาเลเซีย
การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หลอกให้ลงทุน และหลอกให้ซิ้อสินค้าเป็นกลโกง 3 อันดับแรกในทั้ง 3 ประเทศ

นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด(Global Marketing) บริษัทโกโกลุก กล่าวว่า “การหลอกลวงจากมิจฉาชีพทั้งออนไลน์และทางโทรศัพท์ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่งผลกระทบทั้งต่อบุคคลและองค์กร ซึ่งอาจจะเกิดจากหลากปัจจัย เช่น วิวัฒนาการของการหลอกลวงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมไปถึง ความรู้เท่าทันและความพร้อมของประชาชนในการรับมือกับภัยมิจฉาชีพที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ Whoscall จึงได้ร่วมกับ Viu ผสานความร่วมมือในระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรกเพื่อติดอาวุธทางปัญญาพร้อมทั้ง มอบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมเกราะป้องกันภัยจากกลลวงมิจฉาชีพให้ครอบคลุมประชากรในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการทำงานเชิงรุก ให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานฟีเจอร์ที่ผสานเทคโนโลยี AI บนแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันภัย จากมิจฉาชีพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และใช้แพลตฟอร์มของ Viu เพื่อส่งมอบความรู้และปกป้องผู้บริโภค ให้มีความรู้เท่าทันและอยู่เหนือกลโกงในทุกรูปแบบ

นายอรรถสิทธิ์ บูรณะธีรกิจ Head Of Commercial ViuThailand กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างเรากับ Whoscall ถือเป็นก้าวสำคัญเพื่อส่งมอบความรู้ผ่านผลิตสื่อดิจิทัล ควบคู่ไปกับการส่งมอบเครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันการหลอกลวงทางออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้ใช้หลายล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังว่าจะได้ทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับ Whoscall ในอนาคตในการจัดกิจกรรมและนำเสนอ คอนเท้นท์อันหลากหลาย  เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามในโลกออนไลน์และการป้องกันที่เป็น ประโยชน์แก่ผู้ชมของเรา

Post Views84 Views
Share this post