‘อัลไซเมอร์’ ลืมง่าย.. จำไม่ได้.. รับมือให้ทันโรคยอดฮิตของสังคมผู้สูงอายุ

โรคอัไซเมอร์ เกิดจากภาวะความเสื่อมของเซลล์สมอง ผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปก็สามารถที่จะเป็นโรคนี้ได้ถึง 20% 30%

สัญญาณเตือนหรือเช็คลิสต์ที่เราต้องระวังตัวว่าเราหรือคนในครอบครัวจะมีความเสี่ยงเป็นโรคอัไซเมอร์หรือเปล่า คือาการความจำที่ลดลง ถามซ้ำ วางของผิดที่ คิดเลขไม่ถูก นึกคำพูดไม่ถูก พูดไม่ออก หลงทิศหลงทาง กะระยะผิด อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย การนอนหลับที่เปลี่ยนไป นอนหลับน้อยลง วันเว้นวัน หรือหลับมากกว่าปกติ สุดท้ายแล้วสัญญาณเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ต้องมาพบแพทย์

พญ. ลลิตพรรณ สุดประเสริฐ อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลพญาไทนวมินทร์ กล่าวถึงโรคอัไซเมอร์ว่า โรคอัไซเมอร์ (Alzheimer Disease) หรือ โรคความจำเสื่อมแตกต่างจากโรคหลงลืมที่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เช่น ลืมสิ่งของ หรือ สถานที่ แต่สำหรับอัไซเมอร์ต้องมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมากนั้นโรคอัลไซเมอร์เกิดจาความเสื่อมของเซลล์สมองและจะพบมากในวัย 65 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ยประมาณ 10%-15% แต่คนที่อายุน้อยที่มียีนหรือพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็มีโอกาสที่จะพบได้เช่นกัน โดยพบว่าในทุกๆ 5 ปีจะพบอัตราเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 2 เท่า และผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไก็สามารถที่จะเป็นโรคนี้ได้ถึง 20%-30%

“ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัไซเมอร์ ตัวเองอาจจะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่คนรอบข้างอย่างญาติจะมองเห็นพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น การถามซ้ำในเรื่องเดิม จนทำให้สงสัย และอาจจะมีหงุดหงิดบ่อย นอนไม่หลับ ซึม ซึ่งหากพบปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนให้คนไข้ หรือผู้ดูแลใกล้ชิดเข้ามาพบแพทย์

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคอัไซเมอร์ (Alzheimer Disease)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ ปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ คือ อายุที่เพิ่มขึ้น ,พันธุกรรม โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคความจำเสื่อม การกลายพันธ์ของยีนApolipoprotein E (Apo E), Amyloid-beta Precursor Protein (APP), Presenilin 1 (PSEN1) และ Presenilin 2 (PSEN2) และ Down’s syndrome จะทำให้ปรากฏอาการของโรคอัลไซเมอร์เร็วกว่าคนปกติ เพศ พบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชายเล็กน้อย

ปัจจัยที่ป้องกันได้ คือ โรคที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ เช่น หลอดเลือดสมองต่างๆ ซึ่งเราสามารถป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น การป้องกันโลหิตสูง ความดันสูง เบาหวาน ควบคุม หมั่นตรวจสุขภาพ เช็คร่างกาย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นหลอดเลือดสมองที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ นอกนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา สารเสพพติดหนักๆ หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนทางสมอง

วิธีป้องกัน โรคอัไซเมอร์ (Alzheimer Disease)

วิธีการบริหารสมองเป็นวิธีการหลักป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ก็เหมือนร่างกายของเราที่ต้องออกกำลังกาย สมองเองก็ต้องการออกกำลังกายด้วยเช่นกัน แต่ต้องไม่หนักและเครียดจนเกินไป เพราะจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ อาจจะออกกำลังกายสมองเบาๆ เช่น การฟังเพลง เต้นรำ เล่นเกม งานฝีมือ พบปะสังสรรค์ เหล่านี้ช่วยพัฒนาสมองของเราให้ทำงานตลอดเวลาและป้องกันโรคฯ ได้

สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุไปแล้ว สถิติของโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นมากในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ 1 แสนคนต่อปี และสถิติทั่วโลกจากสหรัฐฯ เก็บข้อมูลไว้มีมากถึง 57 ล้านคนทั่วโลก โดยมากสถิติที่เก็บรวบรวมกันมาจะมีอัตราเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกปี ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัว แต่สามารถป้องกันได้หากมาพบแพทย์โดยเร็ว

รักษา และ “ดูแลผู้ป่วยอย่างไรให้ชีวิตมีความสุข

ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่พบว่ามียาที่รักษาหายขาดได้ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การใช้ยาลดอาการและลดการถดถอยความเสื่อมของสมองเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด และการรักษาที่ไม่ใช้ยาซึ่งเป็นการรักษาแบบองค์รวมร่วมกับแพทย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ให้กับคนไข้และผู้ดูแล การพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ การพัฒนาการเข้าสังคม การฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดและจิตบำบัด เข้ากลุ่มทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อรักษาหรือ maintenance ตัวสมองเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์

 การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด

คนในครอบครัวที่ต้องดูแลคนไข้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นกำลังสำคัญ อย่างแรกคือ ต้องเข้าใจตัวโรคก่อนว่าตัวโรคจะดำเนินการไปอย่างไร จะมีความเสื่อมถอยของตัวโรคไปเรื่อยๆ และคนไข้อาจจะมีภาวะติดเตียงได้ การที่ครอบครัวเข้าใจและเอาใจใส่ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของคนไข้ โดยการเข้าใจถึงอารมรณ์ที่เปลี่ยนไป การนอนหลับที่เปลี่ยนไป ความจำที่เปลี่ยนไป หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ถือเป็นการรักษาคนไข้อย่างมีคุณภาพทำให้มีชีวิตที่ดีมีความสุข

Post Views54 Views
Share this post