เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ศาลปกครองกลาง ได้นัดฟังคำพิพากษาในคดี หมายเลขดำที่ 752/2565
กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เพื่อเรียกค่าเสียหาย 4 หมื่นล้านบาท โดยศาลปกครองกลางได้มีคำพิ พากษาให้สำนักงาน คปภ. เป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวไม่เกิ นความคาดหมายของสำนักงาน คปภ. เนื่องจาก สำนักงาน คปภ. ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ห้ามการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภั ยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยโควิด เว้นแต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนต่ อบริษัทว่าผู้เอาประกันภัยได้ กระทำการทุจริตหรือฉ้อฉลประกั นภัย เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รั บประโยชน์จากการประกันภัย
โดยมูลเหตุสำคัญในการออกคำสั่ งดังกล่าวมาจากในช่วงกลางปี 2564 สถานการณ์โควิด 19 ระบาดอย่างหนัก บริษัท สินมั่นคงประกันภัยฯ ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ ขายประกันภัยโควิดแบบเจอ-จ่าย- จบ หรือ COVID 2 in 1 นับ 1,000,000 ฉบับ ได้ส่งหนังสือถึงลูกค้าของบริษั ทฯ โดยกล่าวอ้างเหตุของการบอกเลิ กสัญญาสรุปได้ว่าเป็นผลสืบเนื่ องจากการระบาดของโรคติดเชื้ อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ผู้เอาประกันภัยของบริษัทฯ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายในช่ วงเวลาที่เกิดโรคระบาดอย่างรุ นแรง เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้ เอาประกันภัยของบริษัทอื่ นและกรมธรรม์อื่นว่าจะถูกบอกเลิ กกรมธรรม์หรือไม่ และทำให้เกิดกระแสสังคมวิพากษ์ วิจารณ์ธุรกิจประกันภัยในแง่ลบ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่ อแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลาม เพราะถ้าหากบริษัท สินมั่นคงประกันภัยฯ สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภั ยโควิดได้เป็นผลสำเร็จ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะถูกนำไปเป็ นโมเดลให้กับบริษัทประกันภั ยรายอื่น ๆ สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ในลั กษณะเดียวกันนี้ได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกั บประชาชนที่ถือกรมธรรม์ประกันภั ยโควิดรายอื่นทั้งหมดด้วย
สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับและส่งเสริ มการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมทั้งมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ด้านประกันภัยให้กั บประชาชนผู้เอาประกันภัย จึงได้อาศัยฐานอำนาจที่มีอยู่ ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ห้ามการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภั ยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยโควิด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชนที่ถือกรมธรรม์ประกั นภัยโควิด 19 ทั้งระบบจำนวน 16 ล้านฉบับ มูลค่าสินไหมทดแทนเกือบ 100,000 ล้านบาท ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่ อนไขกรมธรรม์ประกันภัยต่ อไปจนกว่าจะหมดอายุกรมธรรม์
นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นว่าหากปล่อยให้มี การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภั ยโควิด 19 ในขณะที่สถานการณ์โควิดรุ นแรงและประชาชนหาซื้อประกันภั ยโควิด 19 ไม่ได้ ก็จะเป็นการปล่อยปละละเลยให้บริ ษัทผู้รับประกันภัยใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตและเอาเปรี ยบประชาชนจนถึงขั้นอาจถูกมองได้ ว่าเป็ นการลอยแพประชาชนไปตามยถากรรม เนื่องจากหากประชาชนรู้ว่าจะถู กยกเลิกกรมธรรม์เมื่อเกิดภัย ก็คงไม่มีใครซื้อประกันภัยอย่ างแน่นอน
ดังนั้น คำพิพากษาในคดีนี้จึงมีความสำคั ญอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากสำนักงาน คปภ. เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็อาจถูกนำไปใช้เป็นบรรทั ดฐานใหม่ให้กับบริษัทผู้รั บประกันภัยใช้เป็นแนวทางบอกเลิ กกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ หากเห็นว่ารับประกันภัยไปแล้ว แต่มีแนวโน้มที่บริษัทผู้รั บประกันภัยจะต้องจ่ายค่าสิ นไหมทดแทนเป็นจำนวนมาก บริษัทผู้รับประกันภัยอาจใช้เป็ นเหตุในการบอกเลิกกรมธรรม์ประกั นภัยได้แบบเหมาเข่งในทุกกรณี ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในสารบบของธุ รกิจประกันภัยทั่วโลกมาก่อน และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่ นของประชาชนที่มีต่อระบบประกั นภัยในภาพรวมทั้งหมด
สำนักงาน คปภ. ขอกราบขอบพระคุณศาลปกครองกลางที่ ให้ความเป็นธรรมกับหน่ วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกั บและส่งเสริมการประกอบธุรกิ จประกันภัย รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ของประชาชนด้านการประกันภัย ให้ปฏิบัติตาม กฎ กติกา มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชนไม่ให้ถูกเอารั ดเอาเปรียบ และพร้อมที่จะดำเนินการตามหน้ าที่และอำนาจเพื่อคุ้ มครองประโยชน์สาธารณะและรั กษาความเชื่อมั่นของระบบประกั นภัยไทยไว้อย่างสุดกำลั งความสามารถ เพื่อให้ระบบประกันภัยไทยเป็นที่ พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
